วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณวิชาชีพ3

1. ได้รู้จักการทำงานรวมกัน
2. ได้รับความรู้ต่างๆที่หลักสูตรเราไม่ได้สอน
3. ได้รู้จักการทำงานเป็นระบบเป็นขั้นตอน
4. มีความรอบคอบมากขึ้นในการทำงาน
5. ได้รู้จักการทำงานที่ต้องรับผิดชอบให้ได้ประสิทธิและถูกต้องตามระเบียบ

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS12/08-09-2009

เรื่อง ตารางแฮช (Hash Table)
ตารางข้อมูลแบบตรง

สมมติว่ามีการกำหนดให้คีย์มาจากเอกภพสัมพัทธ์U={0,1.....,m-1}
การแก้ไขปัญหาคือใช้ตาราง T[0...m-1]การสร้างดัชนีโดยคีย์เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล เข้าด้วยกันเพื่อเก็บข้อมูลตำแหน่งที่ถูกต้อง

การชนกันของข้อมูล (Collision)
การแทรกคีย์ในตาราง ที่จัดเก็บนั้นมีโอกาสที่คีย์ที่ถูกสร้างจากฟังก์ชัน ในช่องเดียวกัน

ทางปฏิบัติใช้เทคนิค ฮิวริสติก ในการสร้างฟังก์ชั่นแฮซ แนวทางหนึ่งที่ดีคือ การแปลงค่าของข้อมูลที่มีอยู่แล้วด้วยข้อมูลที่มีอยู่
ฟังก์ชั่นแฮช คือ การกำหนอกค่าคีย์ที่เกิดขึ้นในเอกภพสัมพัทธจากตัวเลขธรรมชาติ


วิธีการสร้างฟังก์ชั่นแฮช
1.วิธีการหาร
2.วิธีการคูณ
3.วิธีทั่วไป

เทคนิคลำดับของการตรวจสอบ
1. การตรวจสอบเชิงเส็น
2.การตรวจสอบด้วยสมการกำลังสอง
3.การสร้างฟังก์ชั่นแฮชแบบสองเท่า

DTS11/08-09-2009

เรื่องSorting
การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเรียงลำดับที่ดีและเหมาะสมกับระบบงาน เพื่อให้มีประสทิธิภาพในการทำงานสูงสุด
วิธีการเรียงลำดับ
1. การเรียงลำดับแบบภายใน เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยควมจำหลัก
2. การเรียงลำดับแบบภายนอกเป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำรอง

การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)
ทำการเลือกข้อมูลมาเก็บในตำแหน่งที่ ข้อมูลนั้นควรจะอยูที่ละตัว โดยทำการค้นหาข้อมูลนั้นในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับ
การเรียงลำดับแบบฟอง(bubble sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
การเรียงลำดับแบบเร็ว (quick sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ใช้เวลาน้อยเหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน
การเรียงลำดับแบบแทรก(insertion sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่ไปในเซต ที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้ว และทำให้เซตใหม่ได้นี้มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วย
การเรียงลำดับแบบฐาน (radix sort)
เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลที่ละหลัก

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS10/01-09-2009

เรื่อง Graph
กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน
นิยามของกราฟ
กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
การเขียนกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เราสนใจแทนโหนดด้วย จุด (pointes) หรือวงกลม (circles)
ที่มีชื่อหรือข้อมูลกำกับ เพื่อบอกความแตกต่างของแต่ละโหนดและเอ็จแทนด้วยเส้นหรือเส้นโค้งเชื่อมต่อระหว่างโหนดสองโหนด
กราฟแบบไม่มีทิศทางเป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (Empty Graph)แต่ละเอ็จจะเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด หรือเชื่อมตัวเอง เอ็จไม่มีทิศทางกำกับ ลำดับของการเชื่อมต่อกันไม่สำคัญ นั่นคือไม่มีโหนดใดเป็นโหนดแรก (First Node) หรือไม่มีโหนดเริ่มต้น และไม่มีโหนดใดเป็นโหนดสิ้นสุด
กราฟแบบมีทิศทาง เป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (Empty Graph) แต่ละเอ็จจะเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด เอ็จมีทิศทางกำกับแสดงลำดับของการเชื่อมต่อกัน โดยมีโหนดเริ่มต้น
(Source Node) และ โหนดสิ้นสุด (Target Node)รูปแบบต่าง ๆ ของกราฟแบบมีทิศทางเหมือนกับ
รูปแบบ ของกราฟไม่มีทิศทาง ต่างกันตรงที่กราฟแบบนี้จะมีทิศทางกำกับด้วยเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS09/25-08-2009

เรื่อง Tree
ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น
(Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
แต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่
(Parent orMother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)
โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)
เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)
นิยามของทรี
1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใด ๆ
ในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด โดยที่ ถ้าว่าง ไม่มีโหนดใด ๆ เรียกว่านัลทรี
(Null Tree) และถ้ามีโหนดหนึ่งเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็นทรีย่อย (Sub Tree)T1, T2, T3,…,Tk โดยที่ k>=0 และทรีย่อยต้องมีคุณสมบัติเป็นทรี

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS08/11-08-2009

เรื่อง Queue
คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ซึ่งการเพิ่มข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งซึ่ง
เรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์(front)
การทำงานของคิวการใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิวเรียกว่า Enqueue ซึ่งมีรูปแบบคือenqueue (queue, newElement)
หมายถึง การใส่ข้อมูลnewElement ลงไปที่ส่วนเรียร์ของคิว
การแทนที่ข้อมูลของคิวสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
2. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Nodeจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือพอยเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ Front และ rearกับจำนวนสมาชิกในคิว
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
การดำเนินการเกี่ยวกับคิว ได้แก่
1. Create Queue จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node และให้ค่า pointer ทั้ง 2 ตัวมีค่าเป็น null
2. Enqueue การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
3. Dequeue การนำข้อมูลออกจากคิว
4. Queue Front การนำข้อมูลที่อยู่ส่วนต้นของคิวมาแสดง
5. Queue Rear การนำข้อมูลที่อยู่ส่วนท้ายของคิวมาแสดง
6. Empty Queue การตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7. Full Queue การตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่
8. Queue Count การนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในคิว
9. Destroy Queue การลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในคิว
การนำข้อมูลเข้าสู่คิว จะไม่สามารถนำเข้าในขณะที่คิวเต็ม หรือไม่มีที่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า overflow
การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่าunderflow

DTS07/04-08-2009

เรื่อง Stack

สแตก (Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การ
เพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก จะทำที่ ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตกและ ลักษณะที่สำคัญของสแตก
คือ ข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมา จากสแตกเป็นลำดับแรกสุด
การแทนที่ข้อมูลของสแตกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์
2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์
สแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย2 ส่วน คือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่
1. Create Stack จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node
2. Push Stack การเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตก
3. Pop Stack การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
4. Stack Top การคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก
5. Empty Stack การตรวจสอบการว่างของสแตก
6. Full Stack การตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่
7. Stack Count การนับจำนวนสมาชิกในสแตก
8. Destroy Stack การลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในสแตก
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก
- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก
- ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตกขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตก
นำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS06-28-07-2009

#include<conio.h>
#include<iostream.h>
void main()
{
int n,i;
struct employee
{
char name[21];
char surname[21];
float salary,tax;
}a[21];
clrscr();
cout<<"number : ";
cin>>n;
for(i=0;i<n;i++)
{
cout<<"name : ";
cin>>a[i].name;
cout<<"surname : ";
cin>>a[i].surname;
cout<<"salary : ";
cin>>a[i].salary;
a[i].tax=a[i].salary*0.07;
cout<<a[i].tax<<endl;
cout<<"------------------------------------------------"<<endl;
}
for(i=0;i<n;i++)
{
cout<<"name : ";
cout<<a[i].name<<endl;
cout<<"surname : ";
cout<<a[i].surname<<endl;
cout<<"salary : ";
cout<<a[i].salary<<endl;
cout<<"tax : ";
cout<<a[i].tax<<endl;
cout<<"------------------------------------------------"<<endl;
}
getch();
}

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS06-28-07-2009

DTS05/28-07-2009

เรื่อง Linked List
ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด (Node) ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือData จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดในลิส
โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้นคือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04/14-07-2009

Set and String
ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators)
ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character
String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือ
เครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว
(String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์
การกำหนดค่าคงตัวสตริง
สามารถกำหนดได้ทั้งนอกและในฟังก์ชัน เมื่อกำหนดไว้นอก
ฟังก์ชัน ชื่อค่าคงตัวจะเป็นพอยเตอร์ชี้ไปยังหน่วยความจำที่เก็บสตริง
นั้น เมื่อกำหนดไว้ในฟังก์ชัน จะเป็นพอยเตอร์ไปยังหน่วยความจำที่
เก็บตัวมันเอง
การกำหนดค่าให้กับสตริงนั้น เราจะใช้เครื่องหมาย double
quote (“ ”) เช่น “abc” คือ ชุดของอักขระที่มีขนาด 4 (รวม \0 ด้วย)
การกำหนดตัวแปร country จะแตกต่างกับการ
กำหนดตัวแปรอะเรย์ เพราะเป็นการกำหนดตัวแปรพอย
เตอร์ขึ้น 4 ตัว โดยให้แต่ละตัวชี้ไปยังค่าคงตัวสตริงทั้ง4 ตัว
การกำหนดตัวแปรสตริง
ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการ
ของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้าย
ด้วย null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับโดยเฉพาะ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-30/06/2009

สรุป Array and Record

อะเรย์เปงโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์
การกำหนด Array
อะเรย์ที่มี subscript มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป จะเรียกว่า อะเรย์หลายมิติ
ข้อกำหนดของการกำหนดค่าต่ำสุดและกำหนดสูงสุดของ subscript คือ
1. ค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดเสมอ
2. ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง
3. ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน
อะเรย์ 1 มิติ
รูปแบบ data-type array-name[expression]
data-type คือ ปรเภทของข้อมูลอะเรย์ เช่น int
char float
array-name คือ ชื่อของอะเรย์
expression คือ นิพจน์จำนวนเต็มซึ่งระบุจำนวนสมาชิกของอะเรย์
char a[4]i หมายถึง คอมพิวเตอร์จะจองเนื้อที่ในหน่วยความจำของตัวแปล a ขนาดสมาชิก 4 สมาชิก
Initialization คือ การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอะเรย์ การกำหนดค่าให้กับตัวแปรจุดที่มีค่าเป็นตัวเลข
การสั่งอะเรย์ให้ฟังก์ชัน 1 สามารถกำหนดอะเรย์เป็นพารามิเตอร์ส่งให้กับฟังก์ชั่นได้ 2 ลักษณะ ฟังก์ชันทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์พร้อมระบุ subscript
2.ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชัน ทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์โดยไม่มี subscript

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-23/06/2009

สรุป Data Structure Introduction
ข้อมูล ข้อมูลหมายถึง ตัวเลข ตัวอักษร
โครงสร้างข้อมูล หมายถึง ข้อมูลต่างๆนำมาประกอบโครงสร้าง
ออกแบบให้เป็นระบบ การเขียน loop Do while การเขียนผังงานโปรแกรมโครงสร้าง
สัญลัษณ์ ต่างๆๆนอกจากนี้เราสามารถจำแนกโครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ประเภท คือ โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ และโครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพเป็นโครงสร้างข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่ทุกภาษาควรจะมีให้ใช้ เช่น จำนวนเต็ม จำนวนจริง ตัวอักขระ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล และแฟ้มข้อมูล เป็นต้น ส่วนโครงสร้างข้อมูลทางตรรกะเป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจากจินตนาการของผู้ใช้ เช่น ลิสต์ สแตก คิว ทรี และกราฟ เป็นต้น

DTS02-23/06/2009

#include<stdio.h>
#include<string.h>
int main(void){
struct Mycar{
char Brand[6];
char Model[5];
char Color[6];
char Type[10];
char Production[8];
char Address[9];
int Price;
float Performance;
}car;
struct car;
strcpy(car.Brand,"Honda");
strcpy(car.Model,"City");
strcpy(car.Color,"Black");
strcpy(car.Type,"Automobile");
strcpy(car.Production,"Thailand");
strcpy(car.Address,"HNontaburi");
car.Price=560;
car.Performance=1.5;
printf("Brand:%s\n\n",car.Brand);
printf("Model:%s\n\n",car.Model);
printf("Color:%s\n\n",car.Color);
printf("Type:%s\n\n",car.Type);
printf("Production:%s\n\n",car.Production);
printf("Address:%s\n\n",car.Address);
printf("Price:%d\n\n",car.Price);
printf("Performance:%f\n\n",car.Performance);
}

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

.::Profile::.






ชื่อ ::นางสาว กาญจนา สวัสดิ์ประทานชัย
Miss.Kanjana Sawatpratanchai
ชื่อเล่น :: กาน รหัสนักศึกษา ::50132792037
หลักสูตร::การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
E-mail::u50132792037@gmail.com